เราหิวเพราะอะไรกันนะ? มาทำความรู้จัก ฮอร์โมนที่ทำให้หิว แก๊งตัวแสบที่คอยแอบสั่งการทำให้เราอยากกิน ทำให้เราหิวบ่อยๆ แบบไม่มีพัก! เผลอตัวอีกที ก็ทำให้น้ำหนักตัวเกินเรื่องไปมาก!
‘ฮอร์โมนที่ทำให้หิว’ คืออะไร?
ในร่างกายของเรา จะมีศูนย์ควบคุมความหิว และความอิ่ม โดยจะมีการส่งสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างสมอง กับระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงกระเพาะ ทำให้ร่างกายรู้ว่าต้องการอะไร ต้องการพลังงาน หรือไม่ต้องการแล้ว อย่างเช่น กระเพาะอาหารหลั่งฮอร์โมนเกรลิน ทำให้รู้สึกหิว และเมื่อรับประทานอาหารแล้ว ลำไส้เล็กหลั่งฮอร์โมน GLP-1 ทำให้รู้สึกอิ่มขึ้น
- เกรลิน (Ghrelin) : จอมบงการตัวพ่อ!
เกรลิน ฮอร์โมนที่ทำให้หิว ตัวพ่อเลยก็ว่าได้ โดยหลักๆ เลยก็คือ ผลิตจากกระเพาะอาหารของเรา พอท้องว่างปุ๊บ! เจ้าเกรลินก็จะหลั่งออกมาทันที! วิ่งไปบอกสมองว่า “หิวแล้ว หาของกินด่วน!!” เมื่อระดับฮอร์โมนเกรลินในร่างกายสูงขึ้น จะทำให้รู้สึกหิว และอยากรับประทานอาหารมากขึ้น ยิ่งท้องว่างนานเท่าไหร่ เกรลินก็ยิ่งแผลงฤทธิ์หนักเท่านั้น! ใครไดเอทอยู่บอกเลยว่างานยาก!
หากต้องการควบคุมระดับฮอร์โมนเกรลินในร่างกาย ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีโปรตีนสูง มีไฟเบอร์สูง และมีไขมันดีสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง และโซเดียมสูง พักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมหลีกเลี่ยงความเครียด
- นิวโรเพปไทด์ วาย (Neuropeptide Y – NPY) : เจ้าพ่อสายเสริมทัพ!
ถ้าเกรลินคือสายบุก เจ้า NPY ก็คือสายเสริมทัพ ฮอร์โมนที่ทำให้หิว เวลาท้องว่าง สมองจะหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า “นิวโรเพปไทด์ วาย (Neuropeptide Y)” ซึ่งเจ้าสารตัวนี้ จะส่งสัญญาณให้เรารู้สึกหิวตลอดเวลา ทำงานประสานงานกับเกรลิน กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง และน้ำตาลสูง โดยเฉพาะของหวานๆ มันๆ ยิ่งกิน ยิ่งฟิน ยิ่งหยุดไม่ได้! อีกทั้งยังยับยั้งการเผาผลาญพลังงาน ทำให้ร่างกายสะสมพลังงานมากขึ้นอีกด้วย แถมยิ่งอดอาหารเช้า ยิ่งหิวหนัก กินเยอะแบบไม่รู้ตัว ผลลัพธ์คือ น้ำหนักพุ่งกระฉูดแน่นอน!
- คอร์ติซอล (Cortisol) : ฮอร์โมนแห่งความเครียด!
แม้จะไม่ใช่ ฮอร์โมนที่ทำให้หิว หรือสั่งการความหิวโดยตรง แต่คอร์ติซอล ฮอร์โมนแห่งความเครียดนี้ ก็มีส่วนในการกระตุ้นความอยากอาหารได้! เวลาเครียดๆ หลายคนมักจะหาของกิน โดยเฉพาะของหวาน มาคลายเครียด นี่แหละคืออิทธิฤทธิ์ของคอร์ติซอล!
แล้วจะปราบแก๊ง ฮอร์โมนที่ทำให้หิว ตัวแสบพวกนี้ได้อย่างไรล่ะ!?
- กินอาหารให้ตรงเวลา: อย่าปล่อยให้ท้องว่างนานเกินไป เพราะจะทำให้เกรลินออกอาละวาด!
- กินโปรตีนและไฟเบอร์: ช่วยให้อิ่มท้องนานขึ้น ลดโอกาสที่แก๊งฮอร์โมนจะแผลงฤทธิ์
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: ช่วยลดระดับคอร์ติซอล ลดความอยากอาหารจากความเครียด
- จัดการความเครียด: หาเวลาผ่อนคลาย ทำกิจกรรมที่ชอบ จะได้ไม่ต้องพึ่งของกินคลายเครียด
- เข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก Weight Management กับทาง S’RENE by SLC โดยเรามีโปรแกรม 1 เดือน และ 3 เดือน ไว้คอยบริการช่วยเหลือทุกคนในการควบคุม และลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้ปากกาลดน้ำหนัก: เป็นตัวช่วยพิเศษในการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมน GLP-1 ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกาย ที่ทำให้ร่างกายอิ่มเร็ว เพื่อช่วยในการลดน้ำหนักได้ดีและยั่งยืนมากขึ้น
รู้จักแก๊ง ฮอร์โมนที่ทำให้หิว ตัวแสบพวกนี้กันแล้ว ก็อย่าลืมดูแลตัวเอง กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดี อย่าปล่อยให้ความหิวมาทำให้เราน้ำหนักขึ้นแบบไม่รู้ตัว จะได้ไม่ต้องตกเป็นทาสของแก๊ง ฮอร์โมนที่ทำให้หิว อีกต่อไป!